ดาวน์โหลดโปรโตคอล TCP/IP WORD
วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ CC212
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550

 

 

โปรโตคอล (communications protocol) หรือชื่อไทยว่า เกณฑ์วิธีการสื่อสาร หรือ เกณฑ์วิธีข่ายงาน คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้

ชุดของโพรโทคอล

ชุดโพรโทคอลต่อไปนี้ คือ ชุดโพรโทคอลสำคัญ ซึ่งเป็นใช้เป็นต้นแบบ ในการใช้งานต่างๆ แบ่งได้เป็น 2 มาตรฐานดังนี้:

มาตรฐานเปิด

1.Internet protocol suite
2.Open Systems Interconnection (OSI)

มาตรฐานปิด

1.AppleTalk
2.DECnet
3.IPX/SPX
4.SMB
5.Systems Network Architecture (SNA)
6.Distributed Systems Architecture (DSA)

 โปรโตคอล TCP/IP มีการจัดกลไกการทำงานเป็นชั้นหรือ Layer เรียงต่อกันโดยชั้นในแต่ละ Layer จะมีการทำงานเทียบได้กับ OSI model มาตรฐานแต่บาง Layer ของโปรโตคอล TCP/IP จะทำงานเทียบกับ OSI หลายๆ Layer ปนกันซึ่งในแต่ละ Layer

โปรโตคอล TCP
โปรโตคอล TCP (Transmission Contron Protocal) เป็นโปรโตคอลที่มีการรับส่งข้อมูลแบบ stream oriented protocal หมายความว่า การรับส่งข้อมูลจะไม้คำนึงถึงข้อมูลที่จะส่งไป แต่จะแบ่งข้อมูลเป็นส่วยย่อยๆก่อน และจึงส่งไปยังปลายทางอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับข้อมูล ในกรณีที่ข้อมูลส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป ก็จะส่งข้อมูลส่วนนั้นใหม่อีกครั้ง สำหรับปลายทางก็จะทำหน้าที่จัดเรียงส่วนของข้อมูล datagram ใหม่ให้ต่อเนื่องกันและประกอบกับเป็นข้อมูลทั้งมดได้ ซึ่งจะแยกข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออก ดังนั้นแอพพิเคชั่นหรือโปรโตคอลใดที่อาศัยการส่งผ่านข้อมูลด้วยโปรโตคอล TCP จำต้องให้หน่วยความจำและขนาดของช่องสัญญาณ (bandwidth) มากกว่า UDP

 

 

 

 

 

 

โปรโตคอล IP
โปรโตคอล IP ทำหน้าที่ให้บริการส่งผ่านข้อมูลที่มาจาก Host-to-Host layer เพื่อส่งข้ามไปยังเครือข่ายใดๆได้อย่างถูกต้อง แม้จะมีเครือข่ายเชื่อมต่อกันในอินเตอร์เน็ตเป็นล้านๆเครือข่ายก็ตาม เนื่องจากโปรโตคอล IP มีข้อมูลตำแหน่ง IP ปลายทางที่จะส่งข้อมูลไปให้ โดยทำงานรวมกับอุปกรณ์ Router เพื่อส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายออกไปได้ ตัวโปรโตคอล IP จะทำงานแบบ packet switching คือมีการส่งข้อมูลผ่าน switch ไปยังปลายทาง โดยข้อมูลจะเดินทางไปยังเครือข่ายต่างๆผ่านสวิทซ์นี้ไปเรื่อยๆจะกว่าจะถึงปลายทาง ตัววงจรผ่านหรือสวิทซ์นี้อาจเป็น Gateway หรือ Router ในระบบเครือข่ายก็ได

กลไกของโปรโตคอล IP
ในการส่งข้อมูลหรือ IP datagram ไปยังเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นโปรโตคอล IP จะทำหน้าที่พิจารณาว่าปลายทางในการส่ง IP datagram นั้นจะเป็นภาพในเครือข่ายของตนเองหรือจะส่งข้อมูลข้ามเครือข่ายไปอีก โดยพิจารณาโปรโตคอล IP จะตรวจสอบจากค่า IP datagram ปลายทางว่าส่วนที่เป็นค่าหมายเลขเครือข่าย Network address จะเหมือนกับค่าหมายเลขเครือข่ายของ IP address ต้นทางหรือไม่ ถ้าค่าตรงกันแสดงว่าการส่งข้อมูลภายในเครือข่ายเดี่ยวกัน แต่ถ้าค่าต่างกัน แสดงว่าต้องส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่อยู่คนละเครือข่ายกัน
การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายเดี่ยวกัน มีกลไกดังนี้

1. โปรโตคอล IP จะเรียกใช้บริการโปรโตคอล ARP เพื่อแปลงหมายเลข IP ปลายทางให้เป็นหมายเลขฮาร์ดแวร์ เช่น MAC address
2. เมื่อโปรโตคอล IP ได้รับหมายเลขฮาร์ดแวร์แล้ว ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปยังฮาร์ดแวร์ที่ละไว ้

การส่งข้อมูลข้ามเครือข่าย มีกลไกดังนี้
1. โปรโตคอล IP ตรวจสอบพบว่าหมายเลข IP address ปลายทางอยู่คนละเครือข่ายกันโดยโปรโตคอล IP จะอ่านค่า ARP ของ Router เพื่อเตรียมส่งข้อมูลไปยัง Router แทนซึ่งในที่นี้จะมีการกำหนดเป็น Default Router
2. โปรโตคอล IP จะเรียกใช้บริการโปรโตคอล ARP เพื่อแปลงค่า IP address ของ Router ให้เป็นหมายเลขฮาร์ดแวร์
3. โปรโตคอล IP ส่งข้อมูล IP datagram ไปยัง Router ที่กำหนดไว้จากนั้น Router ส่งข้อ

 

โปรโตคอล TCP/IP