เทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น

เครือข่ายท้องถิ่น เป็นระบบการสื่อสารข้อมูลที่อนุญาตให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่อิสระหันมาเชื่อมต่อเข้าไว้ร่วมกันบนเครือข่าย ทำให้สามารถแชร์การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ บนเครือข่ายร่วมกันได้ การเชื่อมโยงเครือข่ายท้องถิ่นจะมีข้อจำกัด ด้านระยะทาง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงเครือข่ายในบริเวณที่จำกัด เช่น ภายในตึกอาคาร สำนักงาน โดยมีหักการว่าด้วยการกระจายข้อมูลในอัตราการส่งข้อมูลสูง และมีอัตราความผิดพลาดในการส่งข้อมูลต่ำ

เครือข่ายท้องถิ่นได้รวมสถาปัตยกรรมทั้งสี่ซึ่งประกอบด้วย

  • อีเทอร์เน็ต
  • โทเค็นบัส
  • โทเค็นริง
  • FDDI

เทคโนโลยีเครือข่ายระดับเมือง

เครือข่ายระดับเมืองเป็นเครือข่ายความเร็วสูง สนับสนุนงานระบบแบบโต้ตอบฉับพลัน หรือระบบเยลไทม์ การเชื่อมต่อเครือข่ายจะประกอบด้วยศูนย์ข้อมูลและไอเอสพี รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ธุรกิจเอกชน งานทางการแพทย์ เครือข่ายระดับเมืองแทบทั้งหมดเป็นเครือข่ายไฟเบอร์ออปติค ซึ่งสามารถรองรับอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงถึงล้านบิตต่อวินาที มีอัตราความผิดพาดต่ำ และมีทรูพุตสูง ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวจะไม่มีในเครือข่ายท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม มีคุณสมบัติเพียงเล็กน้อย ที่ทำให้เราสามารถแบ่งแยกเครือข่ายระดับเมืองออกจากเครือข่ายท้องถิ่นได้ 3 ประการ คือ

1. เครือข่ายระดับเมืองจะครอบคลุมระยะทางที่ไกลกว่าเครือข่ายท้องถิ่น โดยคำว่า MAN ในที่นี้ก็คือการสนับสนุนพื้นที่ที่ครอบคลุมตามเมืองหรือจังหวัดใหญ่ ๆ ในขณะที่เครือข่ายท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลนนั้นจะครอบคลุมการใช้งานภายในตึก อาคาร หรือสำนักงาน ดังนั้น จุดนี้จึงเป็นที่ทำให้ราสามารถเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเครือข่ายท้องถิ่นกับเครือข่ายระดับเมืองมากยิ่งขึ้น

2. เครือข่ายระดับเมืองจะมีระบบกู้คืนที่รวดเร็วในกรณีที่เครือข่ายเกิดข้อบกพร่อง โดยเครือข่ายระดับเมืองได้มีการออกแบบวงจร ที่มีอยู่จำนวนมากพอกับการรองรับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความล้มเหลวบนเครือข่าย เครือข่ายสามารถจัดการเส้นทางใหม่ได้อย่างรวดเร็ว ในกรณีที่บางเส้นทางมีจารจรข้อมูลคับคั่งหรือเกิดข้อบกพร่องใด ๆ และแน่นอนด้วยเป้าหมายและวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงทำให้มีบริษัทหายแห่งที่ใช้บริการเครือข่ายระดับเมือง แต่อย่างไรก็ตาม เครือข่ายระดับเมืองในประเทศไทยยังมีการใช้งานอยู่น้อยมาก เมื่อเทียบกับในต่างประเทศ

3. รูปแบบการเชื่อต่อเครือข่ายหรือโทโพยีบนเครือข่ายระดับเมืองนี้ มักตั้งอยู่บนพื้นฐานของเครือข่ายในลักษณะของวงแหวน ซึ่งไม่เหมือนกับครือข่ายโทเค็นริงที่ใช้งานบนเครือข่ายท้องถิ่น โดยวงแหวนดังกล่าวจะเป็นทั้งแบบลอจิคัและฟิสิคัสในตัว ด้วยเหตุนี้จึงไม่ใช่แค่เพียงข้อมูลเท่านั้นทีส่งผ่านวงแหวนตามที่เข้าใจ แต่บนเครือข่ายจะมีเร้าเตอร์แสวิตช์ที่เชื่อต่อเข้ากับวงแหวน

เทคโนโลยีเครือข่ายระดับประเทศ

เครือข่ายระดับประเทศหรือเครือข่ายแวน เป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมดยงเครือข่ายต่าง ๆ หายกลุ่มเข้าไว้ด้วยกัน ที่ครอบคลุมพื้นที่ระดับประเทศหรือข้ามทวีป โดยไม่มีข้อจำกัดในด้านระยะทาง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ระบบโทรคมนาคมเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายดังกล่าว เช่น สายโทรศัพท์ สายเคเบิล และระบบดาวเทียม เป็นต้น โดยปกติเครือข่ายระดับประเทศมักใช้งานเกี่ยวกับการถ่ายดอนข้อมูลขนาดใหญ่ระหว่างกัน การใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การเข้าถึงเพื่อใช้งานฐานข้อมูล และการเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยหน่วยงานที่ใช้งานเครือข่ายระดับประเทศจะประกอบด้วยหลายวงการด้วยกัน เช่น โรงงาน งานการแพทย์ การศึกษา บันเทิง และโทรคมนาคม

เครือข่ายระดับประเทศจะมีสถานีที่เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมก รวมถึงรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้น แต่ละสถานีที่ต้องการเข้าถึงเครือข่ายจึงจำเป็นต้องมีแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ เพื่อให้สามารถใช้เครือข่ายได้ตามแต่ละวัตถุประสงค์ โดยภาพรวมของเครือข่ายระดับประเทศนั้นเป็นเครือข่ายย่อย ๆ หรือซับเน็ต โดยซับเน็ตก็คือกลุ่มของโหนดต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน

 

 

โทโปโลยี หมายถึง รูปร่างของ network พิจารณาจากการลากเส้นมาต่อกันเป็นกิ่งก้านหรือรูปแบบของ Network

     
คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย มีการเชื่อมโยงถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการอออกแบบเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย (network topology) เมื่อพิจารณาการต่อเชื่อมโยงถึงกันของอุปกรณ์สำนักงานซึ่งใช้งานที่ต่าง ๆ หากต้องการเชื่อมต่อถึงกันโดยตรง จะต้องใช้สายเชื่อมโยงมาก ดังรูป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


  
   ปัญหาของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ของสถานีปลายทางหลาย ๆ สถานีคือ จำนวนสายที่ใช้เชื่อมโยงระหว่างสถานีเพิ่มมากขึ้น ง่ายต่อการติดตั้ง และมีประสิทธิภาพที่ดีต่อระบบ รูปร่างเครือข่ายงานที่ใช้ในการสื่อสารมีหลายรูปแบบ

1. แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่างๆ ที่ต้องการติดต่อกัน


 

 

 



 

2. แบบวงแหวน เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงเครื่องขยายสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป




 

 

 

 

 


3. แบบบัสและต้นไม้ เ
ป็น รูปแบบที่มีผู้นิยมใช้มากแบบหนึ่ง เพราะมีโครงสร้างไม่ยุ่งยากและไม่ต้องใช้เครื่องขยายสัญญาณหรืออุปกรณ์สลับสาย เหมือนแบบวงแหวนหรือแบบดาว สถานีต่างๆ จะเชื่อมต่อเข้าหาบัสโดยผ่านทางอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เป็นฮาร์ดแวร์ การจัดส่งข้อมูลบนบัสจึงสามารถทำให้การส่งข้อมูลไปถึงทุกสถานีได้ การจัดส่งวิธีนี้จึงต้องกำหนดวิธีการที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกันเพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน โดยวิธีการที่ใช้อาจเป็นการแบ่งช่วงเวลา หรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่สัญญาณที่แตกต่างกัน

 

 

 

 

 

 


ดาวน์โหลดเทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
และการเชื่อมต่อ PDF

วิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ CC212
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550
เทคโนโลยีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการเชื่อมต่อ